วันอังคารที่ 21 กันยายน พ.ศ. 2553

การสังเคราะห์ DNA

1.การสังเคราะห์ DNA วอตสันและคริกค้นพบโครงสร้างทางเคมีของ DNA ขั้นตอนต่อไปก็คือ การพิสูจน์และตรวจสอบว่าโครงสร้างของ DNA นี้ มีสมบัติเพียงพอที่จะเป็นสารพันธุกรรมได้หรือไม่ ซึ่งการที่จะเป็นสารพันธุกรรมได้นั้นย่อมต้องมีสมบัติสำคัญ คือ
ประการแรก ต้องสามารถเพิ่มจำนวนตัวเองได้โดยมีลักษณะเหมือนเดิมเพื่อให้สามารถถ่ายทอดลักษณะทางพันธุกรรมจากรุ่นพ่อแม่ไปยังรุ่นลูกได้
ประการที่สอง สามารถควบคุมให้เซลล์สังเคราะห์สารต่างๆเพื่อแสดงลักษณะทางพันธุกรรมให้ปรากฏ
ประการที่สาม ต้อง สามารถเปลี่ยนแปลงได้บ้าง ซึ่งการเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นอาจก่อให้เกิดลักษณะพันธุกรรมที่ผิดแปลกไปจาก เดิมและเป็นช่องทางให้เกิดสิ่งมีชีวิตสปีชีส์ใหม่ๆขึ้น หลังจากวอตสันและคริกได้เสนอโครงสร้างของ DNA แล้วในระยะเวลาเกือบ 10 ปี ต่อมา จึงสามารถพิสูจน์ได้ว่า DNA มีสมบัติเป็นสารทางพันธุกรรม วอตสันและคริกจึงได้รับรางวัลโนเบลจากผลงานการค้นพบโครงสร้าง DNA ในปี พ.ศ. 2505 นับว่าเป็นความก้าวหน้าที่สำคัญยิ่งทางด้านวิทยาศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นให้กับนักวิทยาศาสตร์ที่จะค้นคว้าในระดับโมเลกุลต่อไป
วอตสันและคริกได้เสนอโครงสร้างของ DNA ว่าเป็น พอลินิวคลีโอไทด์ 2 สายพันกันบิดเป็นเกลียว ดังโครงสร้างของ DNA ตามแบบจำลองนี้ได้นำไปสู่กลไกพื้นฐานของการสังเคราะห์ DNA หรือการจำลองตัวเองของ DNA โดยนักวิทยาศาสตร์ทั้งสองได้พยากรณ์กลไกจำลอง DNA ว่าเกิดขึ้นได้อย่างไร
ในปี พ.ศ. 2496 วอตสันและคริกได้พิมพ์บทความพยากรณ์การจำลองตัวของ DNA ไว้ว่า ในการจำลองตัวของ DNA พอ ลินิวครีโอไทด์ 2 สาย แยกออกจากกันเหมือนการรูดซิบโดยการสลายพันธะไฮโดรเจนระหว่างเบส A กับ T และเบส C กับ G ที่ละคู่ พอลินิวคลีโอไทด์แต่ละสายทำหน้าที่เป็นแม่พิมพ์สำหรับการสร้างสายใหม่ มีการนำนิวคลีโอไทด์อิสระที่อยู่ในเซลล์เข้ามาจับกับ พอลินิวคลีโอไทด์สายเดิม โดยเบส A จับกับ T และเบส C จับกับ G หมู่ฟอสเฟตของนิวคลีโอไทด์ อิสระจะจับกับน้ำตาลออสซีไรโบสของ DNA โดยวิธีนี้เรียกว่า DNA เรพลิเคชั่น ( DNA replication ) ทำให้มีการเพิ่มโมเลกุลของ DNA จาก 1 โมเลกุลเป็น 2 โมเลกุล DNA แต่ ละโมเลกุลมีพลลินิวคลีโอไทด์ สายเดิม 1 สาย และสายใหม่ 1 สาย จึงเรียกการจำลองลักษณะว่า เป็นแบบกึ่งอนุรักษ์ ( semiconservatiae )






การจำลองตัวเองของ DNA





การจำลองตัวเองของ DNA (DNA REPLICATION)
DNA สามารถเพิ่มจำนวนได้โดยการจำลองตัวเอง (self replication) ซึ่งเป็นคุณสมบัติพิเศษที่สำคัญมากในการทำหน้าที่ถ่ายลักษณะทางพันธุกรรมจากสิ่งมีชีวิตรุ่นหนึ่งไปยังอีกรุ่นหนึ่ง การจำลองตัวของดีเอ็นเอเริ่มจากการคลายเกลียวออกจากกันแล้วใช้สายพอลินิวคลีโอไทด์สายใดสายหนึ่งใน 2 สายเป็นแม่พิมพ์ (template) ในการสร้างสายใหม่ขึ้นมา ซึ่งสุดท้ายดีเอ็นเอที่จำลองใหม่จะประกอบด้วยสายพอลินิวคลีโอไทด์สายเดิมและสายใหม่ นอกจากนี้ ดีเอ็นเอ ยังทำหน้าที่เป็นแม่แบบของการสร้างสายอาร์เอ็นเอ ดังที่ได้กล่าวมาแล้ว ซึ่งกระบวนการต่างๆ เหล่านี้จำเป็นต้องอาศัยเอนไซม์จำเพาะหลายชนิดในการควบคุมปฏิกิริยาที่เกิดขึ้น เช่น ดีเอ็นเอโพลิเมอเรส (DNA polymerase) อาร์เอ็นเอโพลิเมอเรส (RNA polymerase) เฮลิเคส (helicase) ไลเกส (ligase) เป็นต้น
เมื่อ DNA สองสายคลายเกลียวแยกออกจากกันDNA polymerasจะสังเคราะห์leading strand เป็นสายยาว โดยมีทิศทางจากปลาย 5, ไปยัง3, เรียกว่า การสร้างสาย leading strandDNA polymeras gxHodkiสังเคราะห์ DNA สายใหม่เป็นสายสั้นๆ (Okazaki fragment๗โดยมีทิศทาง 5, ไปยัง 3, จากนั้น DNA ligaseจะเชื่อมต่อ DNA สายสั้นๆให้เป็นDNA สายยาว เรียกว่า การสร้าง lagging strand












การจำลองตัวเองของ DNA ตามสมมติฐานของนักวิทยาศาสตร์มีดังนี้

1. แบบกึ่งอนุรักษ์ (semiconservative replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNA แล้ว DNA แต่ละโมเลกุลมีพอลินิวคลีโอไทด์ สายเดิมและสายใหม่ ซึ่งเป็นแบบจำลองของวอตสันและคลิก

2. แบบอนุรักษ์ (conservative replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNA แล้ว พอลินิวคลีโอไทด์ทั้งสองสายไม่แยกจากกันยังเป็นสายเดิม จะได้ DNA โมเลกุลใหม่ที่มีสายของโมเลกุลพอลินิวคลีโอไทด์สายใหม่ทั้งสองสาย

3. แบบกระจัดกระจาย (dispersive replication) เมื่อมีการจำลองตัวเองของ DNA จะได้ DNA ที่เป็นของเดิมและของใหม่ปะปนกันไม่เป็นระเบียบ
















http://www.kik5.com/index.php?option=com_content&view=article&id=113:6-1&catid=39:-6-dna&Itemid=62



พืช GMO



พืช gmo เป็นตัวย่อของคำว่า Genetically Modified Organisms มีความหมายว่า สิ่งมีชีวิตที่ได้จากการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรมด้วยวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเท่านั้น

สารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า DNA เป็นสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยพันธุกรรมหรือ ยีน (GENE) และสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะเป็นสัตว์ พืช หรือจุลินทรีย์





จุลินทรีย์ GMO นั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา และมีจุลินทรีย์ GMO ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการกำจัดคราบน้ำมันได้ดี









พืช GMO เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง มะละกอ เรานิยมทำ GMO ในพืชเพราะว่าทำได้ง่ายกว่าสัตว์ และสามารถศึกษาพืช GMO ได้หลายๆ ชั่วอายุของพืช (Generation) เพราะว่าพืชมีอายุสั้นกว่าสัตว์ ซึ่งอายุของสัตว์แต่ละ Generation นั้นกินเวลานานหลายปี


สัตว์ GMO เช่น ปลาแซลมอน ซึ่ง Modified หมายความว่า ปลานี้ได้รับการปรุงแต่ง หรือดัดแปลงโดยมนุษย์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร เพราะมนุษย์ล้นโลกได้เป็นอย่างดี จึงเป็นวิธีพัฒนาการทางด้านอาหารสำหรับบริโภคของมนุษย์


วิธีการทำ GMOปัจจุบันนักเทคโนโลยีชีวภาพได้ทำการศึกษาวิจัยด้าน GENE หรือ GENOME ทำให้สามารถวิเคราะห์โครงสร้างในสิ่งที่มีชีวิตและยีน เพื่อปรับปรุงคุณลักษณะให้ดีกว่าเดิม คือ การทำ GMO นั่นเอง


GENETIC ENGINEERING หรือพันธุวิศวกรรมนั้น เป็นวิธีการที่เรียกว่า Biotechnology หรือเทคโนโลยีทางชีวภาพ เป็นวิธีการที่คัดเลือกสายพันธุ์โดยทำลงไปที่ยีนที่ต้องการโดยตรง แทนวิธีการผสมพันธุ์แบบเก่า แล้วคัดเลือกลูกสายพันธุ์ผสมที่มีลักษณะตามความต้องการ ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานานก็ตาม



วิธีการทำGMO มี 2 ขั้นตอนดังนี้

1. เจาะจงโดยการค้นหายีนตัวใหม่หรือจะใช้ยีนที่เป็น TRAITS (มีคุณลักษณะแฝง) ก็ได้ ตามที่เราต้องการ ยีนตัวนี้อาจจะมาจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ก็ได้

2. นำเอายีนจากข้อที่ 1. ถ่ายทอดเข้าไปอยู่ในโครโมโซมของเซลล์ใหม่ ซึ่งทำได้หลายวิธี


พืช gmo วิธีหลักที่ใช้กันในปัจจุบัน มี 2 วิธีคือ


2.1 ใช้จุลินทรีย์ เรียกว่า Agro-Bacterium เป็นพาหะช่วยพายีนเข้าไป ซึ่งคล้ายกับการใช้รถลำเลียงสัมภาระเข้าไปไว้ในที่ที่ต้องการ
2.2 ใช้ปืนยีน (GENE GUN) ยิงยีนที่เกาะอยู่บนผิวอนุภาคของทอง ให้เข้าไปในโครโมโซมเซลล์พืช กระสุนที่ยิงเข้าไปเป็นทองและนำ DNA ติดกับผิวของกระสุนที่เป็นอนุภาคของทอง และยิงเข้าไปในโครโมโซมด้วยแรงเฉื่อย จะทำให้ DNA หลุดจากผิวของอนุภาคของทอง เข้าไปอยู่ในโครโมโซม ส่วนทองก็จะอยู่ภายในเนื้อเยื่อโดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ


เมื่อเข้าไปที่ใหม่ จะโดยวิธี 2.1 หรือ 2.2 ก็ตาม ยีนจะแทรกตัวรวมอยู่กับโครโมโซมของพืช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมพืช การถ่ายทอดยีนเข้าสู่พืชนั้นมิได้เป็นการถ่ายทอดเฉพาะยีนที่ต้องการเท่านั้น แต่เป็นการถ่ายทอดชุดของยีนเรียกว่า GENE CASSETTE โดยนักวิทยาศาสตร์ที่นำเอายีนที่ต้องการนั้น ไปผ่านขบวนการเสริมแต่ง เพื่อเพิ่มตัวช่วย ได้แก่ ตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นและยุติ และตัวบ่งชี้ปรากฏการณ์ของยีน ซึ่งตัวช่วยทั้งสองเป็นสารพันธุกรรมหรือยีนเช่นกัน ทั้งหมดจะถูกนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นชุดของยีนก่อนจะนำชุดของยีนนั้น ไปฝากไว้กับเชื้ออะโกรแบคทีเรียมหรือนำไปเคลือบลงบนผิวอนุภาคของทองอีกทีหนึ่ง


นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องพ่วงตัวช่วยเหล่านั้นกับยีนที่ต้องการเพื่อใส่ยีนเข้าไปในเซลล์พืช ให้สามารถทำงานได้ หรือสามารถควบคุมให้มีการสร้างโปรตีนได้ เมื่อมีตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นหรือให้ยุติ ก็เปรียบเหมือนกับสวิตช์ที่เปิดปิดได้นั่นเอง

นอกจากนี้ยังต้องมีวิธีการติดตามหรือสะกดรอยชุดยีนที่ใส่เข้าไป พืช gmo โดยตรวจหาสัญญาณตัวบ่งชี้การปรากฏของยีน ซึ่งตัวบ่งชี้นี้ช่วยให้สามารถคัดแยกเซลล์พืชหรือต้นพืชที่ได้รับการใส่ชุดยีนได้
วิธีการตรวจหา GMO ในพืชหรือในอาหารวิธีการดูด้วยตาเปล่าไม่สามารถบอกได้ว่าพืชชนิดใดเป็น GMO ต้องใช้เทคนิคชั้นสูง ต้องมีแลบ มีเครื่องมือ มีนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญตรวจหาสาร GMO คือ ยีนที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิดคือ 35 S PROMOTER และส่วนที่เป็นสวิตซ์ปิดเรียกว่า NOS TERMINATOR หรือตรวจยีนตัวเลือก เรียกว่า MARKER GENE หรือ SELECTABLE MARKE GENE จะค่อนข้างยุ่งยากและลำบากในการตรวจพอสมควร





วิวัฒนาการของมนุษย์




วิวัฒนาการของมนุษย์
มนุษย์มีวิวัฒนาการมาในกลุ่มเดียวกันกับไพรเมทส์ อันได้แก่ กระแต ลิงลม ลิงเอพ ไพเมทส์มีสมองใหญ่และเจริญกว่าสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดอื่น บางพวกมีหางยาว แขนยาวกว่าขา ทั้งแขน ขา ใช้ประโยชน์ในการห้อยโหนตัวจากต้นไม้ต้นหนึ่งไปยังอีกต้นหนึ่ง
คนกับลิงมีบรรพบุรุษมีบรรพบุรุษร่วมกัน ไม่มีหาง แต่ลิงจะมีแขนยาวกว่าขา จากเริ่มต้นในบรรพบุรุษร่วมระหว่างคนกับลิงจะมีวิวัฒนาการไปหลายสาย คือ ชะนี อุรังอุตัง กอริลลา ชิมแพนซี และมนุษย์คล้ายลิงใหญ่
มนุษย์ยุคปัจจุบันกระดูกสันหลังจะตั้งตรง คอตั้งตรง เพราะกระดูกคอต่ออยู่ใต้ฐานกะโหลก มีกล้ามเนื้อที่ยึดบริเวณท้ายทอยช่วยรับน้ำหนักศีรษะ ศีรษะจึงไม่ยื่นไปข้างหน้า ทำให้แตกต่างจากกอริลลาที่ทรงตัวไม่ดี อีกทั้งกระดูกสันหลังโค้งงอจนต้องใช้แขนที่ยาวช่วยพยุงในการเดิน ในขณะที่มนุษย์สามารถยืนได้บนขาทั้งสองขาโดยที่ไม่ต้องใช้แขนช่วย ช่วงขามนุษย์จะยาวกว่าช่วงแขน ทำให้เดินตัวตรงได้
เมื่อนำลักษณะต่าง ๆ ระหว่างกอริลลา ซึ่งเป็นลิงขนาดใหญ่ที่ไม่มีหางมาเปรียบเทียบกับมนุซย์ จะเห็นได้ว่ามีความแตกต่างกันโดยสิ้นเชิง จึงไม่สามารถบอกได้ว่า " มนุษย์มีวิวัฒนาการมาจากลิง " อีกทั้งยังไม่มีการค้นพบซากบรรพบุรุษร่วมระหว่างคนกับลิง จึงสันนิษฐานกันว่า วิวัฒนาการของมนุษย์น่าจะต่างจากกอริลลา
วิวัฒนาการของมนุษย์กับลิง มีวิวัฒนาการมาคนละสายพันธุ์ โดยที่อาจจะมีบรรพบุรุษร่วมกัน แต่ยังไม่สามารถหาหลักฐานซากดึกดำบรรพ์ร่วมนี้
จากหลักฐานที่ได้จากซากดึกดำบรรพ์ของมนุษย์เท่าที่เคยพบ ได้พบว่าปัจจุบันมนุษย์ได้มีการวิวัฒนาการมาจากมนุษย์วานร แล้ววิวัฒนาการเปลี่ยนไปเป็นมีกะโหลกศีรษะและสมองใหญ่ขึ้น จึงแบ่งสายพันธุ์การวิวัฒนาการของมนุษย์ออกเป็น มนุษย์วานร บรรพบุรุษมนุษย์ มนุษย์แรกเริ่มจนมาถึงมนุษย์ปัจจุบัน
มนุษย์วานร คือ มนุษย์ในสปีชีส์ ออสตราโลพิธีคัส ซากดึกดำบรรพ์พบว่ามีการแพร่กระจายอยู่ในแอฟริกา มีอายุระหว่าง 3-5 ล้านปี ขนาดมันสมองเล็กประมาณ 400-600 ลูกบาศก์เซนติเมตร ทั่วลำตัวมีขนปลกคุม สูงไม่มากประมาณ 120 เซนติเมตร สามารถใช้หินทำเครื่องมือ แต่ยังไม่รู้จักประดิษฐ์เครื่องมือหรือการสะสมเครื่องมือ
บรรพบุรุษมนุษย์ หรือ มนุศย์พวกโฮโมแฮบิลิส พวกนี้สามารถประดิษฐ์อาวุธ หรือเครื่องมือแบบหินกระเทาะใช้ไม้ กระดูก เขาสัตว์ในการล่าสัตว์ขึ้นใช้ มนุษย์พวกนี้มีอายุประมาณ 3-4 ล้านปีมาแล้ว ขนาดมันสมองประมาณ 800 ลูกบาศก์เซนติเมตร
สายพันธุ์มนุษย์ระยะแรก หรือพวกโฮโฒอิเลคตัส เช่น พวกมนุษย์ชวา มนุษย์ปักกิ่ง พวกนี้สามารถประดิษฐ์เครื่องมือ ขวานหินไม่มีด้าม รู้จักใช้ไฟและอาศัยอยู่ในถ้ำ แต่สูญพันธุ์ไปแล้วเมื่อ ประมาณ 500,000 ปีก่อน ขนาดมันสมองประมาณ 1,000 ลูกบาศก์เซนติเมตร
สายพันธุ์มนุษย์ปัจจุบัน หรือพวกโฮโม เซเปียนส์ มีอายุแรกเริ่มเมื่อประมาณ 200,000 ปีท่แล้ว พวกนี้ใช้อาวุธที่ทำด้วยโลหะ มีภาพวาดตามผนังถ้ำ มีขนาดมันสมองประมาณ 1,100-1,200 ลูกบาศก์เซนติเมตร พบซากมนุษย์นีนเดอร์ธัล และมนุษย์โครมายองhttp://www.thaigoodview.com/library/studentshow/st2545/4-5/no16-25-45/paw2.html

บิดาแห่งวิชาพันธุ์ศาสตร์


โยฮันน์ เกรกอร์ เมนเดล (Gregor Mendel)


ต้องยอมรับว่านี่คือ ยุคแห่งพันธุศาสตร์ เพราะในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ การค้นคว้าและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นั่นก็เพราะความต้องการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ และต้องการไขปริศนาธรรมชาติในกระบวนการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทำให้มวลมนุษย์เดินหน้าหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถพิชิตโรคภัย และดำรงตนอยู่ในโลกยุคใหม่อย่างสบายใจไร้ทุกข์ ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาถึงระดับเทคโนโลยี



ประวัติ

โยฮันน์ เกรกอร์ เมนเดล เกิดในปี ค.ศ.1822 เป็นบาทหลวงชาวออสเตรีย และในขณะเดียวกันเขาก็เป็นอาจารย์สอนหนังสือให้แก่นักเรียน สอนนักเรียน ถึงเรื่องพันธุ์กรรมด้วย เมนเดลมีความสนใจศึกษาด้านวิทยาศาสตร์โดยเฉพาะ ด้านพันธุศาสตร์ เขาได้ใช้สถานที่ภายในบริเวณวัดเพื่อทำการทดลองสิ่งต่างๆ ที่เขาสนใจ เมนเดลเริ่มต้นทดลองเป็นครั้งแรกในปี ค.ศ.1856 เรื่องที่เขาทำการทดลองคือ การรวบรวมต้นถั่วหลายๆพันธุ์นำมาผสมกันหลายๆวิธีเขาใช้เวลาทดลองต่อเนื่องถึง 7 ปี จนได้ข้อมูลมากเพียงพอ ในปี ค.ศ.1865 เมนเดล จึงได้ รายงานผลการทดลอง ซึ่งเกี่ยวข้องกับการผสมพันธุ์ ต้นถั่ว ให้แก่ที่ประชุม Natural History Society ในกรุงบรุนน์ ( Brunn ) ผลงานของเขาได้รับการตีพิมพ์เผยแพร่ออกไปทั่วทวีปยุโรปและ อเมริกาในปีต่อมาคือปี ค.ศ.1866 ผลงานของเขาถูกปล่อยไว้นานถึง 34 ปี จนกระทั่งปี ค.ศ.1900 ได้มีนัก ชีววิทยา 3 ท่าน คือ ฮูโก เดฟรีส์ ชาวฮอลันดา คาร์ล คอเรนส์ ชาวเยอรมันและ เอริช ฟอน แชร์มาค ชาวออสเตรเลีย ได้ทดลองผสมพันธุ์พืชชนิดอื่นๆ และได้ผลการทดลองตรงกับที่เมนเดลเคยรายงานไว้ ทำให้เมนเดลเป็นที่รู้จัก ในวงการพันธุศาสตร์นับแต่นั้นเป็นต้นมา และ เมนเดลยังได้รับการยกย่องว่า เป็นบิดาแห่งวิชาพันธุศาสตร์อีกด้วย เมนเดลเสียชีวิตลงในปี ค.ศ.1884 ถึงแม้เป็นความจริง เขาจะไม่ได้รับการ ยอมรับนับถือในฐานะนักวิทยาศาสตร์มากนัก แต่ประชาชนทั่วไปก็นับถือเขาและมีความศรัทธาในฐานะนักบวชเป็นอย่างมาก ต้องยอมรับว่านี่คือ “ยุคแห่งพันธุศาสตร์” เพราะในช่วง 50 ปีที่ผ่านมานี้ การค้นคว้าและความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยีชีวภาพได้เติบโตอย่างก้าวกระโดด นั่นก็เพราะความต้องการแก้ปัญหาด้านสุขภาพ และต้องการไขปริศนาธรรมชาติในกระบวนการสร้างสิ่งมีชีวิตต่างๆ ทำให้มวลมนุษย์เดินหน้าหาวิธีการต่างๆ เพื่อให้ร่างกายสามารถพิชิตโรคภัย และดำรงตนอยู่ในโลกยุคใหม่อย่างสบายใจไร้ทุกข์ ด้วยความรู้ทางวิทยาศาสตร์ที่พัฒนาขึ้นมาถึงระดับเทคโนโลยีสัปดาห์นี้ผู้จัดการวิทยาศาสตร์จึงนำสุดยอดการค้บพบทางวิทยาศาสตร์ที่นำเสนอโดยรายการ"ไซน์แชนแนล" (Science Channel) ทางช่อง "ดิสคัฟเวอร์รี" (Discovery Channel) ในประเด็น การค้นพบทางพันธุกรรม โดยสรุป 13 ข้อค้นพบเด่นที่ขับเคลื่อนให้วงการเทคโนโลยีชีวภาพก้าวไกลมาได้ถึงขนาดนี้1. กฎของเมนเดล (Rules of Heredity หรือกฎของการสืบสายเลือด) ในช่วงปี 1850 แน่นอนว่า...ประวัติศาสตร์แห่งวงการพันธุศาสตร์ต้องเริ่มต้นจาก บาทหลวงชาวออสเตรียที่เป็นนักพฤกษศาสตร์นามว่า “เกรเกอร์ โยฮัน เมนเดล” (Gregor Mendel) ที่ได้ค้นพบข้อมูลการถ่ายทอดทางพันธุกรรมจากรุ่นสู่รุ่น โดยเมนเดลได้ทดลองกับพืชตระกูลถั่ว เขาสังเกตว่าลักษณะบางอย่างของต้นถั่วรุ่นลูก อย่างเช่นความสูง การแสดงถึงลักษณะเด่นเหล่านี้จะแตกต่างกันไป โดยกฎแห่งการสืบสายเลือด หรือกฎของเมนเดลนั้นจะมีลักษณะเด่น (Dominant) และลักษณะด้อย (Recessive) เมื่อพ่อกับแม่ที่มีลักษณะเด่นมาผสมกัน ก็จะได้ลูกเด่นทั้งหมด แต่ถ้านำด้อยมาผสมกันก็จะได้ลูกลักษณะด้อยทั้งหมดเช่นกัน แต่ถ้านำเด่นกับด้อยมาผสมกันผลที่ได้ในรุ่นลูกคือ “เด่น” ทั้งหมด แต่ถ้านำไปผสมกันในรุ่นหลานก็จะได้ เด่นแท้-ด้อยแท้-เด่นไม่แท้ ในลักษณะ 1-1-2 ส่วน ลองดูตามตัวอย่าง ให้ถั่วต้นสูง (T) เป็นลักษณะเด่น และต้นเตี้ย (t) เป็นลักษณะด้อย1) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นสูง (T) = ลูกสูงทั้งหมด (TT)2) ถั่วต้นเตี้ย (t) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกเตี้ยทั้งหมด (tt)3) ถั่วต้นสูง (T) + ถั่วต้นเตี้ย (t) = ลูกสูงทั้งหมด (Tt)4) เอาลูกที่ได้จากข้อ 3 ลูกสูงทั้งหมด (Tt) + ลูกสูงทั้งหมด (Tt) = ลูกสูงแท้ (TT) 25% , ลูกเตี้ยแท้ (tt) 25% ,ลูกสูงไม่แท้ (Tt) 50%5) เมื่อเอาเมล็ดถั่วสูงแท้ (TT) จากข้อ 4 ไปปลูกจะได้ลูกสูงหมด (TT) และเอาเมล็ดถั่วต้นเตี้ย (tt) ไปปลูก จะได้ลูกเตี้ยหมด (tt) เอาเมล็ดถั่วต้นสูงไม่แท้ (Tt) จะได้ถั่วชั้นลูกเหมือนกับข้อ 4เมนเดลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นคว้าในเรื่องนี้จนกระทั่งสิ้นใจ โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาค้นพบทำให้เขากลายเป็น “บิดาแห่งพันธุกรรม” ในเวลาต่อมาผลงานเมนเดลได้ใช้เวลาทั้งชีวิตค้นคว้าในเรื่องนี้จนกระทั่งสิ้นใจ โดยหารู้ไม่ว่าสิ่งที่เขาค้นพบทำให้เขากลายเป็น “บิดาแห่งพันธุกรรม” ในเวลาต่อมาhttp://www.thiswomen.com/Variety/id4120.aspx

" ไอ้เท่ง " ทากทะเลชนิดใหม่ของโลก



นักวิทยาศาสตร์ของคณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์วิทยาเขตปัตตานี ค้นพบทากทะเลชนิดใหม่ของโลก บริเวณร่องน้ำ ป่าชายเลนที่อ่าวปากพนัง จ.นครศรีธรรมราช ตั้งชื่อ “ไอ้เท่ง” ตามตัวหนังตลุงปักษ์ใต้






Dr. C.Swennen ผู้เชี่ยวชาญทางทะเลจากประเทศเนเธอร์แลนด์ ซึ่งทำงานค้นคว้าวิจัยที่มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี มานับสิบปี และนายสมศักดิ์ บัวทิพย์ นักวิทยาศาสตร์ จากแผนกชีววิทยา ร่วมกับพิพิธภัณฑ์ประวัติธรรมชาติและเครือข่ายเรียนรู้ท้องถิ่น คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ วิทยาเขตปัตตานี ได้ค้นพบทากทะเล (slug) ชนิดใหม่ของโลก อยู่ในไฟลัม Mollusca ชั้น Gastropoda วงศ์(Family) Aitengidae ชื่อ Aiteng ater หรือ “ไอ้เท่ง” โดยพบในป่าชายเลนที่เป็นดินโคลน ซึ่งถูกปกคลุมด้วยต้นโกงกาง แสมทะเล ตาตุ่มทะเล และปรงทะเล เป็นต้น ในบริเวณที่เป็นร่องน้ำ รอยเท้ามีน้ำท่วมขัง รูปู แอ่งที่มีน้ำท่วมขัง และที่มีการทับถมของใบไม้และไม้ผุ และเป็นพื้นที่ที่ได้รับอิทธิพลจากน้ำขึ้น-น้ำลง สิ่งมีชีวิตชนิดนี้มีความสำคัญต่อห่วงโซ่อาหารในระบบนิเวศป่าชายเลนเหมือนกับสิ่งมีชีวิตชนิดอื่นๆ




ลักษณะภายนอกของ “ไอ้เท่ง” ที่สามารถสังเกตได้คือ มีขนาดประมาณ 6-17 มิลลิเมตร ลำตัวมีสีดำ สามารถดำรงชีวิตอยู่ได้ทั้งบนบก(โดยมีการขับเมือกหุ้มร่างกายเพื่อรักษาความชุ่มชื้น) และในน้ำ คล้ายกับสัตว์ครึ่งบกครึ่งน้ำทั่วๆไป ซึ่งความพิเศษนี้พบได้น้อยมากกับชนิดของทากทะเลที่มีการค้นพบหรือมีการศึกษาอยู่แล้วในปัจจุบัน จากการทดสอบพบว่า อาหารที่มันกินคือ แมลงในระยะดักแด้ ขณะนี้ ได้มีการเก็บมาจากปากพนังไว้ที่แผนกชีววิทยา คณะวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี เพื่อศึกษารายละเอียดเพิ่มเติมไป
สำหรับชื่อ Aiteng ater มีความหมายที่เกี่ยวข้องกับความเป็นท้องถิ่นภาคใต้ คือคำว่า Aiteng มาจากชื่อเรียกตัวหนังตะลุงของปักษ์ใต้ ชื่อ ไอ้เท่ง ซึ่งมีลักษณะตัวสีดำและมีลักษณะของตาที่คล้ายกับสิ่งมีชีวิตชนิดนี้ และ คำว่า ater มาจากภาษาลาติน หมายถึง สีดำ







วันพุธที่ 30 มิถุนายน พ.ศ. 2553

โครงการสำรวจอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก


::: ข้อมูลโดย VOA News ภาคภาษาไทย ::: ขณะที่นักวิทยาศาสตร์กำลังพยายามค้นหาสิ่งส่อแสดงต่างๆ เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตในระบบสุริยะของเรา และไกลออกไปในห้วงเอกภพอย่างไม่ย่อท้อนั้น นักวิทยาศาสตร์ที่ร่วมการประชุมทางชีวดาราศาสตร์ในสัปดาห์นี้ ชี้แจงเกี่ยวกับโครงการใหญ่ๆ ในการสำรวจอวกาศเพื่อค้นหาสิ่งมีชีวิตนอกโลก ระหว่างที่มีการประชุมทางชีวดาราศาสตร์ ณ ชานเมืองฮิวสตัน รัฐเท็กซัส เมื่อเร็วๆ นี้ คุณ Steve Squires นักวิจัยจากมหาวิทยาลัย Cornell ซึ่งเป็นหัวหน้าคณะนักวิทยาศาสตร์ในโครงการสำรวจดาวอังคารขององค์การอวกาศสหรัฐฯ หรือ NASA กล่าวว่า วิชาชีวดาราศาสตร์จะเป็นศูนย์กลางของการสำรวจอวกาศในอนาคต อาจารย์ Steve Squires กล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์กำลังวางโครงการสำรวจหาสิ่งมีชีวิตนอกโลกไว้ 28 โครงการ มีตั้งแต่โครงการส่งยานสำรวจไปลงบนดาวพุธ ไปจนถึงการส่งยานอวกาศโคจรไปสำรวจห้วงอวกาศในระบบสุริยะรอบนอก โครงการใหญ่โครงการหนึ่ง คือ การส่งยานอวกาศไปเก็บตัวอย่างดินและหินจากดาวอังคารกลับมายังโลก ส่วนโครงการอื่นๆ นั้น รวมทั้งการส่งยานสำรวจระหว่างดาวเคราะห์ต่างๆ ไปโคจรรอบดวงจันทร์ยูโรปาของดาวพฤหัส เพื่อเสาะหาแหล่งน้ำใต้พิ้นผิวซึ่งเป็นน้ำแข็งของดวงจันทร์นั้น และสำรวจหาแหล่งก๊าซมีเธนบนดวงจันทร์ไททันของดาวเสาร์ เป็นต้น การพยายามเสาะหาสิ่งมีชีวิตนอกเหนือไปจากที่พบบนโลกนั้น จริงๆ แล้ว รวมการย้อนกลับไปศึกษาซากฟอสซิล สิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์บางอย่างในชั้นเปลือกโลกเราเองด้วย ในการประชุมทางชีวดาราศาสตร์คราวนี้ อาจารย์ Bill Schopf สาขาวิชาสัตว์ดึกดำบรรพ์ จากมหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย วิทยาเขตลอสแอนเจลิส หรือ UCLA เสนอข้อมูลเกี่ยวกับซากฟอสซิลของจุลินทรีย์ที่พบในชั้นแร่ยิบซัมอายุ 6 ล้านปี จากก้นทะเลเมดิเตอเรเนียน อาจารย์ Bill Schopf กล่าวว่า ภาพถ่ายการทำแผนที่ดาวอังคาร แสดงให้เห็นแหล่งแร่ธาตุลักษณะคล้ายๆ กันนี้ เขากล่าวว่า นักวิทยาศาสตร์ทราบว่า จุดดังกล่าวบนดาวอังคารเป็นจุดที่เหมาะสำหรับการค้นหาหลักฐานซากฟอสซิลสิ่งมีชีวิตบนดาวอังคาร และหวังกันว่าอาจพบซากอินทรียสารที่จะเป็นหลักฐานบ่งชี้ถึงการที่เคยมีสิ่งมีชีวิตบนดาวเคราะห์ดวงนั้น อาจารย์ Steve Squires จากมหาวิทยาลัย Cornell นักวิทยาศาสตร์ของ NASA กล่าวว่า ตัวอย่างดินและหินจากดาวอังคาร อาจให้เงื่อนงำที่มีประโยชน์เกี่ยวกับสิ่งมีชีวิตดึกดำบรรพ์บางรูปแบบ เขากล่าวว่า จากการศึกษาข้อมูลที่ยานสำรวจดาวอังคารส่งกลับมานั้น นักวิทยาศาสตร์ทราบว่าดินและหินบนดาวอังคารมีแร่ธาตุ iron sulfates, magnesium sulfates และ calcium sulfates และแร่ยิปซัม ก็คือ calcium sulfates แร่ธาตุเหล่านี้มีอยู่ในบริเวณที่ยาน Opportunity ไปลงบนพื้นผิวดาวอังคารเมื่อ 6 ปีมาแล้ว และยานสำรวจดาวอังคารลำนั้นยังส่งข้อมูลต่างๆ กลับมายังโลก โดยที่ยังทำงานอยู่นานกว่าที่คาดไว้กว่า 20 เท่า ข้อมูลเหล่านั้นมีสิ่งบ่งชี้ถึงการมีน้ำซึ่งเป็นการบ่งชี้ถึงการที่อาจมีสิ่งมีชีวิต อย่างไรก็ตาม นักวิทยาศาสตร์ก็ยังต้องการดินและหินจากดาวอังคารจริงๆ มาศึกษาวิเคราะห์ นักวิทยาศาสตร์กล่าวว่า การค้นพบแหล่งน้ำและอินทรียสารต่างๆ ซึ่งเป็นโครงสร้างพื้นฐานของชีวิตอย่างที่เรารู้จักบนโลก จะเป็นงานสำคัญลำดับแรกๆ ของการสำรวจห้วงอวกาศในอนาคต.
http://www.sudipan.net/phpBB2/viewtopic.php?

ยินดีต้อนรับสู่ blogger นางสาว กนกพร สูวรรณโท

ร้อยเอ็ดเพชรอีสาน พลาญชัยบึงงาม