พืช gmo เป็นตัวย่อของคำว่า Genetically Modified Organisms มีความหมายว่า สิ่งมีชีวิตที่ได้จากการดัดแปลงหรือตัดแต่งพันธุกรรมด้วยวิธีการทางพันธุวิศวกรรมเท่านั้น
สารพันธุกรรมหรือที่เรียกว่า DNA เป็นสารเคมีที่ประกอบกันขึ้นเป็นหน่วยพันธุกรรมหรือ ยีน (GENE) และสิ่งมีชีวิตดังกล่าวอาจจะเป็นสัตว์ พืช หรือจุลินทรีย์
จุลินทรีย์ GMO นั้นใช้ในอุตสาหกรรมอาหารและยา และมีจุลินทรีย์ GMO ที่มีคุณสมบัติพิเศษในการกำจัดคราบน้ำมันได้ดี
พืช GMO เช่น ฝ้าย ข้าวโพด มันฝรั่ง มะละกอ เรานิยมทำ GMO ในพืชเพราะว่าทำได้ง่ายกว่าสัตว์ และสามารถศึกษาพืช GMO ได้หลายๆ ชั่วอายุของพืช (Generation) เพราะว่าพืชมีอายุสั้นกว่าสัตว์ ซึ่งอายุของสัตว์แต่ละ Generation นั้นกินเวลานานหลายปี
สัตว์ GMO เช่น ปลาแซลมอน ซึ่ง Modified หมายความว่า ปลานี้ได้รับการปรุงแต่ง หรือดัดแปลงโดยมนุษย์ไปเรียบร้อยแล้ว ซึ่งจะช่วยแก้ปัญหาการขาดแคลนอาหาร เพราะมนุษย์ล้นโลกได้เป็นอย่างดี จึงเป็นวิธีพัฒนาการทางด้านอาหารสำหรับบริโภคของมนุษย์
วิธีการทำ GMOปัจจุบันนักเทคโนโลยีชีวภาพได้ทำการศึกษาวิจัยด้าน GENE หรือ GENOME ทำให้สามารถวิเคราะห์โครงสร้างในสิ่งที่มีชีวิตและยีน เพื่อปรับปรุงคุณลักษณะให้ดีกว่าเดิม คือ การทำ GMO นั่นเอง
GENETIC ENGINEERING หรือพันธุวิศวกรรมนั้น เป็นวิธีการที่เรียกว่า Biotechnology หรือเทคโนโลยีทางชีวภาพ เป็นวิธีการที่คัดเลือกสายพันธุ์โดยทำลงไปที่ยีนที่ต้องการโดยตรง แทนวิธีการผสมพันธุ์แบบเก่า แล้วคัดเลือกลูกสายพันธุ์ผสมที่มีลักษณะตามความต้องการ ถึงแม้ว่าจะใช้เวลานานก็ตาม
วิธีการทำGMO มี 2 ขั้นตอนดังนี้
1. เจาะจงโดยการค้นหายีนตัวใหม่หรือจะใช้ยีนที่เป็น TRAITS (มีคุณลักษณะแฝง) ก็ได้ ตามที่เราต้องการ ยีนตัวนี้อาจจะมาจากพืช สัตว์ หรือจุลินทรีย์ก็ได้
2. นำเอายีนจากข้อที่ 1. ถ่ายทอดเข้าไปอยู่ในโครโมโซมของเซลล์ใหม่ ซึ่งทำได้หลายวิธี
พืช gmo วิธีหลักที่ใช้กันในปัจจุบัน มี 2 วิธีคือ
2.1 ใช้จุลินทรีย์ เรียกว่า Agro-Bacterium เป็นพาหะช่วยพายีนเข้าไป ซึ่งคล้ายกับการใช้รถลำเลียงสัมภาระเข้าไปไว้ในที่ที่ต้องการ
2.2 ใช้ปืนยีน (GENE GUN) ยิงยีนที่เกาะอยู่บนผิวอนุภาคของทอง ให้เข้าไปในโครโมโซมเซลล์พืช กระสุนที่ยิงเข้าไปเป็นทองและนำ DNA ติดกับผิวของกระสุนที่เป็นอนุภาคของทอง และยิงเข้าไปในโครโมโซมด้วยแรงเฉื่อย จะทำให้ DNA หลุดจากผิวของอนุภาคของทอง เข้าไปอยู่ในโครโมโซม ส่วนทองก็จะอยู่ภายในเนื้อเยื่อโดยไม่มีปฏิกิริยาใดๆ
เมื่อเข้าไปที่ใหม่ จะโดยวิธี 2.1 หรือ 2.2 ก็ตาม ยีนจะแทรกตัวรวมอยู่กับโครโมโซมของพืช จนกลายเป็นส่วนหนึ่งของโครโมโซมพืช การถ่ายทอดยีนเข้าสู่พืชนั้นมิได้เป็นการถ่ายทอดเฉพาะยีนที่ต้องการเท่านั้น แต่เป็นการถ่ายทอดชุดของยีนเรียกว่า GENE CASSETTE โดยนักวิทยาศาสตร์ที่นำเอายีนที่ต้องการนั้น ไปผ่านขบวนการเสริมแต่ง เพื่อเพิ่มตัวช่วย ได้แก่ ตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นและยุติ และตัวบ่งชี้ปรากฏการณ์ของยีน ซึ่งตัวช่วยทั้งสองเป็นสารพันธุกรรมหรือยีนเช่นกัน ทั้งหมดจะถูกนำมาเชื่อมต่อเข้าด้วยกันเป็นชุดของยีนก่อนจะนำชุดของยีนนั้น ไปฝากไว้กับเชื้ออะโกรแบคทีเรียมหรือนำไปเคลือบลงบนผิวอนุภาคของทองอีกทีหนึ่ง
นักวิทยาศาสตร์จำเป็นต้องพ่วงตัวช่วยเหล่านั้นกับยีนที่ต้องการเพื่อใส่ยีนเข้าไปในเซลล์พืช ให้สามารถทำงานได้ หรือสามารถควบคุมให้มีการสร้างโปรตีนได้ เมื่อมีตัวควบคุมการทำงานของยีนให้เริ่มต้นหรือให้ยุติ ก็เปรียบเหมือนกับสวิตช์ที่เปิดปิดได้นั่นเอง
นอกจากนี้ยังต้องมีวิธีการติดตามหรือสะกดรอยชุดยีนที่ใส่เข้าไป พืช gmo โดยตรวจหาสัญญาณตัวบ่งชี้การปรากฏของยีน ซึ่งตัวบ่งชี้นี้ช่วยให้สามารถคัดแยกเซลล์พืชหรือต้นพืชที่ได้รับการใส่ชุดยีนได้
วิธีการตรวจหา GMO ในพืชหรือในอาหารวิธีการดูด้วยตาเปล่าไม่สามารถบอกได้ว่าพืชชนิดใดเป็น GMO ต้องใช้เทคนิคชั้นสูง ต้องมีแลบ มีเครื่องมือ มีนักวิทยาศาสตร์ที่เชี่ยวชาญตรวจหาสาร GMO คือ ยีนที่ทำหน้าที่เป็นสวิตช์เปิดคือ 35 S PROMOTER และส่วนที่เป็นสวิตซ์ปิดเรียกว่า NOS TERMINATOR หรือตรวจยีนตัวเลือก เรียกว่า MARKER GENE หรือ SELECTABLE MARKE GENE จะค่อนข้างยุ่งยากและลำบากในการตรวจพอสมควร
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น